ระยะของการเดินสายจาก กล้องวงจรปิดไปยังเครื่องบันทึก dvrโดยภาพยังชัดเจน ขึ้นกับคุณภาพของสายสัญญาณและสัญญาณรบกวนภายนอก ณ บริเวณที่สายผ่าน โดยทั่วไปสายโคแอกเชียลมาตรฐาน มี 3 ชนิดดังนี้
1. สาย RG59 เป็นสายนำสัญญาณภาพเหมือนกันกับสาย RG6 แต่สาย RG59 จะมีขนาดที่เล็กกว่าสาย RG6 และมีความยืดยุ่นสูงกว่า โดยเหตุสายเส้นเล็กกว่า แต่สาย RG59 จะนำสัญญาณภาพได้ในระยะที่สั้นกว่าสาย กว่าคือสาย RG59 นำสัญญาณภาพได้ไกลไม่เกิน 200 เมตร เพราะสาย มีการลดทอนของสัญญาณภาพ เพราะสายมีขนาดเล็กสุด นั่้นเอง สาย RG59 จะเหมาะกับใช้งานภายในอาคาร ในลิฟท์ เพราะมีสายมีขนาดเล็กและมีความยืดยุ่นได้ดี ไม่นิยมสำหรับช่างกล้องวงจรปิด
2. สาย RG6 สายแบบนี้เป็นสายนำสัญญาณภาพ นิยมนำมาใช้งานในระบบ นำสัญญาณภาพแบบต่างๆ TV, เคเบิ้ล, จานดาวเทียม, กล้องวงจรปิด และ ระบบ Audio/Video นิยม นำมาใช้งานกับระบบกล้องวงจรปิด CCTV มากที่สุดอีกด้วย ซึ่งสาย RG6 ในปัจจุบันนำสัญญาณภาพได้ไกลไม่เกิน 400-700 เมตรมีอยู่เกรดด้วยกัน แต่สาย RG6 ที่ควรนำมาใช้งานใน กล้องวงจรปิด นั้นควรจะเป็นสาย RG6 ที่มีคุณภาพสูง มี Shield ป้องกันสัญญาณสูง 95% เพราะหากนำสายที่มีคุณภาพต่ำ มี Shield แค่ 60%-80% มาใช้งานอาจจะทำให้ได้คุณภาพของภาพจากกล้องวงจรปิดออกมาไม่ดี เมื่อใช้งานไปนานๆแล้ว อาจจะทำให้เกิดสัญญาณภาพไม่ดี สาย RG6 จะมีทั้งแบบที่เป็น Shield ทองแดง และ อลูมิเนียม ทั้งนี้ขึ้นอยู่สถานที่และต่ำแหน่งกล้องวงจรปิดที่จะใช้ในการติดตั้ง ว่ามีอยู่ ณ จุดใด หากเป็นจุดที่เดินสายในระยะไกลประมาณ 700 เมตรขึ้นไปก็ควรจะใช้สายที่เป็น ทองแดง แต่ถ้าหากกล้องวงจรปิด ในจุดนั้นเดินสายไกลไม่เกิน 400 เมตร ก็ใช้สายที่เป็น Shield อะลูมิเนียมได้ สาย RG6จะมีทั้งสีดำ และ สีขาว ซึ่งสาย สีขาวจะแบบใช้งานภายในอาคาร เพราะสายสีขาวไม่ทนทานต่อแสงแดง สาย RG6 สีขาวส่วนใหญ่จะเป็นสายเกรดต่ำ ฉนวนหุ้มสายที่เป็นสีขาวนั้นเปื่อย-ขาดได้ง่าย ส่วนสีดำนั้น จะเป็นสายที่มีเกรดสูงกว่าสายสีขาว ทนทานต่อแสงแดดได้ดี ไม่เปื่อย-ขาดง่าย ทนต่อความร้อนได้ แต่ก็จะมีราคาแพงกว่าสายสีขาว สายที่นิยมมาใช้ในระบบกล้องวงจรปิดนั้นจะใช้สายสีดำมีชีวิต ทั้งภายในและภายนอกอาคาร เนื่องจากมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และ ทนทานมากกว่าสาย RG6 สีขาวและปัจจุบัน มีสายไฟฟ้าเลี้ยงกล้องเลยซึ่งนิยิมาก กว่าสายธรรมดาที่ไม่มีสายไฟเลี้ยง งายสำหรับช่าง กล้องวงจรปิด
3. สาย RG11 สายชนิดนี้เป็นสายนำสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 1000 เมตร เพราะตัวสายมีขนาดใหญ่กว่าสาย RG6 และ RG59 อยู่มาก จึงมีแกนกลางที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ จึงนำสัญญาณได้ดี เหมาะกับใช้งานที่ต้องการเดินสายกล้องวงจรปิดร ะยะไกลๆได้ดี
กล้องวงจรปิด ระบบ อนาล็อก (analog) ความคมชัดเป็น tvl เริ่ม 350 tvl ขึ้นไป ระบบกล้องวงจรปิดระบบอนาล็อกโดยเน้นไปที่ความละเอียดของกล้อง หรือที่เรามักเรียกกันว่า TV Line (ค่ามาตรฐานสำหรับวัดความคมชัดของกล้องวงจรปิด) โดยมักจะเลือกให้กล้องมี TV Line เยอะๆ ไว้ก่อนเช่น 600TVL, 700TVL หรือ 720TVL โดยเข้าใจว่าถ้ากล้องมีความละเอียดสูงมากๆ ภาพจะคมชัด แต่ต้องดูความละเอียดของ เครื่องบันทึก (DVR) ไป ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะนำภาพที่ได้รับจากกล้องมาบันทึกเป็น File สำหรับดูย้อนหลังเพื่อดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าเครื่องบันทึกสามารถบันทึกภาพในความละเอียดสูงๆ ได้ใช้คู่กับกล้องความละเอียดสูงๆ ภาพที่ได้ก็ออกมาคมชัดขนาดภาพของเครื่องบันทึกระบบ Analog ในปัจจุบันที่นิยมยกมาเป็นตัวอย่าง ขนาดภาพของเครื่องบันทึกระบบอนาล็อกในปัจจุบันจะมีมาตรฐานดังนี้ครับ 960H(WD1)ความละเอียด Pixelเท่ากับ 552,960 pixelเป็นระบบการบันทึกที่สูงสุดในระบบ พอจะมองภาพความคมชัดออกนะครับ ต่อไปถ้าเทียบกับระบบ hd ซึ่งระบบนี้จะเข้ามาแทนที่ ระบบเก่า anaog เร็ว ๆนีทุกค่ายทุกบริษัทเลิกผลิตกันแล้ว
กล้องวงจรปิด ระบบ กล้องวงจรปิด (CCTV) แบบ HD-Digital คือระดับภาพที่มีความละเอียดสูง SDI เป็นอินเตอร์เฟซใช้ส่งผ่านสัญญาณวีดีโอที่เข้ารหัสเป็นแบบดิจิตอล รวมถึงสัญญาณเสียงสัญญาณควบคุม หรือ แม้กระทั่งไฟเลี้ยง ผ่านสาย Coaxial หรือสาย RG-6 ดังนั้นเราจึงสามารถที่จะทำ การส่งสัญญาณวีดีโอที่มีความละเอียดสูงระดับ Full HD 1080pโดยไม่ต้องบีบอัด สรุป ระบบ HDCVI คือระบบ กล้องวงจรปิดที่มีความคมชัด ระดับกล้อง IP camera แต่ ไม่ได้ใช้สาย UTP (สายแลน) ในการเดินสาย แต่ใช้ สาย RG6 ในการเดินสาย มีความคมชัด เป็นประมาณเกือบ 3 เท่า ของระบบเก่า 700 tvl ความละเอียดประมาณ 552,960 pixelแต่ระบบ hd เท่ากับ 1.3 Mp ถึง 2.0 MP ซึ่งถือว่า เป็นเทคโนโลยี ที่อยู่ระหว่างกลางระหว่าง กล้อง Analog Camera กับ กล้อง IP Camera ส่วนราคาก็อยู่กลางๆ ระหว่าง Analog กับ IP เครื่องบันทึก dvr ของระบบ HD สามารถรองรับกล้องระบบเก่าได้ แต่เครื่อง dvr ระบบเก่า ไม่รองรับ กล้องระบบใหม่ HD เท่านีก็พอเปรีบยเทียบออกแล้วนะครับ
1.HD-CVI ถือกำเนิดจากเผ่าพันธุ์มังกรในปี 2012 นาม Dahua ผู้คิดค้นระบบ HD CVI (High Definition Composite Video Interface) โดยระบบจะใช้สาย Coax โดยจะให้ภาพที่มีความคมชัดสูงในระดับ MagaPixel ที่ความยาวของสาย มากกว่า 500 เมตร
2.HD-TVI ถือกำเนิดจากสัญชาติอเมริกันหุบเขาซิลิกอนวัลเล่ย์ นาม Techpoint ซึ่งเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มากจาก TechWell ที่เป็นผู้ผลิตชิพเซตเจ้าใหญ่ของโลกที่ผลิต Chip DVR ป้อนให้ตลาดโลก ด้วยความที่มากด้วยประสบการณ์ Techpoint ก็ได้รับอานิสงค์นี้มาด้วย เมื่อความคมชัด 960H ไม่ได้ตอบโจทย์ลูกค้า และ IP Cameras ภาพก็กระตุกไม่ RealTime ด้วยข้อจำกัดของ Network ดังนั้นระบบ Analog ที่เดินด้วยสาย Coax ที่ความคมชัดสูงจึงถือกำเนิดขึ้นโดย Techpoint ชื่อว่า HD-TVI (High Definition Transport Video Interface) โดยจะมี chipset ที่รองรับ FullHD video 720P/1080P
3.AHD ถือกำเนิดจากแดนโสมเกาหลี สายเลือด Nextchip กำเนิดขึ้นเมื่อปี 2013 ในนาม AHD (Analogue High Definition)
จังหวัดยะลา เป็นจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซีย
ประวัติ
ยะลาเดิมเป็นท้องที่หนึ่งของเมืองปัตตานี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการปรับปรุงการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลและได้ออกประกาศข้อบังคับสำหรับปกครอง 7 หัวเมือง รัตนโกสินทรศก 120
ซึ่งประกอบด้วยเมืองปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ยะลา ระแงะ และรามัน ในแต่ละเมืองจะแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 ประกาศจัดตั้งมณฑลปัตตานีขึ้นดูแลหัวเมืองทั้ง 7 แทนมณฑลนครศรีธรรมราช
และยุบเมืองเหลือ 4 เมือง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สายบุรี และระแงะ ต่อมา พ.ศ. 2450 เมืองยะลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองยะลาและอำเภอยะหา ต่อมา พ.ศ. 2475 ได้มีการยกเลิกมณฑลปัตตานี และในปี พ.ศ. 2476
เมืองยะลาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดยะลาตามพระราชบัญญัติราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 เรื่อง การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค ออกเป็นจังหวัด เป็นอำเภอ และให้มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารราชการ
ความหมายของชื่อจังหวัด
เหตุที่เรียกชื่อว่ายะลานั้นเพราะพระยาเมืองคนแรกได้ตั้งที่ทำการขึ้นที่บ้านยะลา คำว่า ยะลา (มาเลย์: Jala, جالا) หรือสำเนียงภาษามลายูพื้นเมืองเรียกว่า ยาลอ (มาเลย์: Jalor, جالور) แปลว่า "แห" ซึ่งเป็นคำยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตว่า
ชาละ หรือ ชาลี หมายถึง "แห" หรือ "ตาข่าย"[3] มีภูเขาลูกหนึ่งในเขตอำเภอเมืองยะลามีลักษณะเหมือนแหจับปลา โดยผูกจอมแหแล้วถ่างตีนแหไปโดยรอบ ผู้คนจึงเรียกผู้เขานี้ว่า ยะลา หรือ ยาลอ แล้วนำมาตั้งนามเมือง
แต่ตามประวัติศาสตร์ซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยเจ็ดหัวเมือง โดยเจ้าผู้ครองเมืองเดิมได้เขียนไว้เป็นประวัติศาสตร์เป็นภาษามลายูว่า “เมืองยะลา” เป็นสำเนียงภาษาอาหรับ โดยชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในบริเวณเจ็ด
หัวเมืองซึ่งอยู่ในแหลมมลายูเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองไว้
เมืองยะลาเดิมตั้งอยู่ใกล้ภูเขายาลอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองยะลาปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ต่อมาเมืองยะลาได้ยกฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งของบริเวณเจ็ดหัวเมือง คำว่าเมืองยะลาหรือยาลอ ยังคงเรียกกันจนถึงปัจจุบันนี้
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 56 ตำบล 341 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองยะลา
อำเภอเบตง
อำเภอบันนังสตา
อำเภอธารโต
อำเภอยะหา
อำเภอรามัน
อำเภอกาบัง
อำเภอกรงปินัง
ที่มา:จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
108cctv (Thailand) Co.,Ltd 30 ถนนโพธิ์แก้ว ซ.ลาดพร้าว 101 โทรศัพท์ 061-982-6996 E-mail: 108cctv101@gmail.com
Powered by w3.css